
สถาปัตยกรรมไทย
สามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ
1.สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนักวัง และพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก และ เรือนเครื่องสับ
1.1ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ ใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์
พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตำหนักวัง
1.2เรือนเครื่องผูกเรือนเครื่องผูก คือประเภทหนึ่งของเรือนที่อยู่อาศัยของคนไทย ที่เรียกว่า เรือนไทย คู่กันกับ เรือนเครื่องสับ
ลักษณะของเรือนเครื่องผูก
•เป็นเรือนที่ก่อสร้างแบบง่าย ๆ ในลักษณะอาคารชั่วคราว หรือกึ่งถาวร
•วัสดุที่ใช้มักจะเป็นไม้ไผ่ การผูกรัดส่วนต่าง ๆ ของอาคารเข้าด้วยกันจะใช้ตอกและหวาย
•หลังคามุงด้วย จาก แฝก ใบตองตึง หรือหญ้าคา ตามแต่วัสดุในแต่ละพื้นที่
•ฝามักจะเป็นฝาขัดแตะ ในภาคใต้มักนิยมสานแบบเสื่อลำแพน
•พื้นมีทั้งไม้ฟาก (ไม้ไผ่ผ่าครึ่งแล้วทุบให้แบน) และไม้จริง
•เสาเรือนมีทั้งไม้ไผ่และไม้จริง ตามแต่ขนาดและการใช้งานของเรือน
เรือนเครื่องผูก
1.3เรือนเครื่องสับ
คือประเภทหนึ่งของเรือนที่อยู่อาศัยของคนไทย ที่เรียกว่า เรือนไทย คู่กันกับ เรือนเครื่องผูก ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานหมายถึง "เป็นเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้"
ส่วนใหญ่เรือนเครื่องสับเป็นเรือน 3 ห้อง กว้าง 8 ศอก แต่จะใหญ่โตมากขึ้นถ้าเจ้าของมีตำแหน่งสำคัญ เช่น เสนาบดี ช่างที่สร้างจะเป็นช่างเฉพาะทาง ก่อนสร้างจะมีการประกอบพิธีหลายๆอย่าง ในภาคกลางมักใช้ไม้เต็งรังทำพื้น เพราะแข็งมาก ทำหัวเทียนได้แข็งแรง ภาคเหนือนิยมใช้ไม้สัก ไม้ที่ไม่นิยมใช้ เช่น ไม้ตะเคียนทอง เพราะมียางสีเลือด ไม่น่าดู
ลักษณะทั่วไปของเรือนเครื่องสับ คือ เป็นเรือนที่ก่อสร้างแบบถาวร วัสดุที่ใช้มักจะเป็นไม้จริง การเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอาคารจะใช้วิธีบากเข้าสลัก เข้าเดือย ตอกด้วยลิ่มไม้
คำเรียกอื่นของเรือนเครื่องสับ
•เรือนถาวร
•เรือนเครื่องประดุ
•เรือนฝากระดาน
องค์ประกอบของเรือนเครื่องสับ
เรือนเครื่องสับประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ เดี่ยวล่าง เดี่ยวบน และบนหลังคา
•ฐานราก มีการก่อสร้างโดย 2 วิธีคือ ใช้เป็นงัว คือมีไม้ 3 หรือ 4 ท่อน วางเรียงซ้อนกันและตั้งเสาลงข้างบน อีกวิธีหนึ่งคือ ใช้แระ คือการตัดไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือกลม รองไปบนก้อนหลุม ฐานรากจะรับน้ำหนักเสา ซึ่งเสาจะอยู่บนแระ ส่วนที่ฐานรากจะเป็นงัว จะมีไม้กงพัดวางลงไป
•เสา
•พื้น
•ฝา หมายถึง สิ่งที่กั้นระหว่างภายในและภายนอกของเรือน ฝาเรือนในเรือนเครื่องสับมีหลายประเภท ซึ่งถูกนำมาใช้ต่างกันตามประโยชน์ใช้สอย ที่พบเห็นเป็นส่วนใหญ่ในเรือนนอนคือ ฝาประกนและฝาสายบัว และฝาไหลในเรือนครัว
•ฝาประกน หมายถึง ฝาเรือนไม้จริงที่ประกอบกันด้วยการเข้าลิ้น โดยลูกนอนหรือไม้แนวนอน จะถูกบรรจุในโครงไม้แนวตั้งเป็นแนวสลับกัน คล้ายแนวการก่ออิฐ และบรรจุด้วยลูกฟักไม้จริงในระหว่างช่องสี่เหลี่ยม โดยลูกฟักมักถูกประดับตกแต่งให้สวยงาม
•ฝาสายบัว หมายถึง ฝาเรือนที่มีลักษณะคล้ายฝาประกนที่ไม่มีลูกนอน โดยโครงไม้แนวตั้งคล้ายฝาประกน ส่วนช่องว่างระหว่างโครงไม้นั้นถูกบรรจุด้วยไม้ เมื่อมองรูปด้านของฝาจะเห็นไม้แนวตั้งเป็นหลัก ทำให้มีลักษณะเหมือนสายบัว
•ฝาไหล หมายถึง ฝาเรือนสองชั้น สามารถเลื่อนในแนวนอนเพื่อให้ช่องว่างของไม้แนวตั้งที่ตีสลับกัน ซ้อนทับกันเพื่อเกิดช่องเปิดเพื่อระบายอากาศ นิยมใช้กับเรือนครัว
•หลังคา
เรือนเครื่องสับ
2.สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา
ได้แก่ โบสถ์, วิหาร, กุฏิ, หอไตร, หอระฆังและหอกลอง, สถูป, เจดีย์
วัดปากน้ำโจ้โล้ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
โบสถ์



