top of page

สถาปัตยกรรมไทย
วัฒนธรรมในการก่อสร้างอาคารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาช้านาน หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่หลงเหลืออยู่ คือสถาปัตยกรรมในสมัยเชียงแสนและสมัยสุโขทัย อิทธิพลที่ปรากฏอย่างเด่นชัด ของศิลปวัฒนธรรมไทย ส่วนใหญ่รับมาจากอินเดียและได้พัฒนาให้เหมาะกับท้องถิ่น และเชื้อชาติตามยุคสมัย โดยผ่านทางมอญศรีวิชัย และขอมกัมพูชา ส่วนที่ผ่านเข้ามาทางตรงก็คือ อิทธิพลทางพุทธศาสนา ทั้งที่ได้ปรับปรุงจากที่อื่น และที่คิดค้นขึ้นเป็นของตนเอง รวมทั้งเป็นตัวอย่างให้ชาติอื่นนำไปปรับปรุงอีกมากมาย สถาปัตยกรรมของไทยที่นับเนื่องเป็นประวัติศาสตร์นั้น ชนชาวไทยในสุวรรณภูมิได้ทุ่มเทสรรพกำลัง ทั้งกายและใจ ให้กับพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้จากโบราณสถาน อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และ คตินิยม สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม 4000 ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการ ดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย สามารถแบ่งยุคได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์

 

 

 

 

 

 

 

 


          

 

 

พระปรางค์สามยอด สถาปัตยกรรมไทยยุคลพบุรี                       พระบรมบรรพต(ภูเขาทอง)

        สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์                                    วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

                                                                                                      สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์

bottom of page