
สถาปัตยกรรมไทย
ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 - 23)
เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในยุคนี้ คือการออกแบบให้แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ร่ำรวย สถาปัตยกรรมจึงมีขนาดและรูปร่างสูงใหญ่ ตกแต่งด้วยการแกะสลักปิดทอง โบสถ์วิหารในกรุงศรีอยุธยาไม่นิยมสร้างให้มีชายคายื่นออกมาจากหัวเสามากนัก ส่วนใหญ่มีบัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม และนิยมเจาะผนังอาคารให้เป็นลูกกรงเล็กๆแทนช่องหน้าต่าง ลักษณะเด่นของการก่อสร้างโบสถ์วิหารอีกอย่างคือ การปล่อยแสงให้สาดเข้ามาในอาคารมากขึ้น โดยจะออกแบบให้แสงเข้ามาทางด้านหน้าและฉายลงยังพระประธาน
สมัยอยุธยาตอนปลาย รูปแบบสถาปัตยกรรมถือว่าอยู่ในจุดสูงสุด คือเป็นสถาปัตยกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทุกประการ และมีความงดงามอ่อนช้อยตามลักษณะแบบไทยๆ แต่การพัฒนาทางสถาปัตยกรรมต้องหยุดลงหลังกรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทั้งด้านการปกครอง ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ฯลฯ
วิหารพระมงคลบพิตร
